อดีตกุ๊กทำอาหารเพาะ ‘ปลาหางนกยูง’ ส่งออกรายได้เฉียดครึ่งล้านต่อเดือน
“ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งการเลี้ยง ‘ปลาหางนกยูง‘ จากแค่รายได้เสริมจะเป็นการต่อยอดสู่รายได้หลักในการหล่อเลี้ยงครอบครัวได้….” เสียงจากหญิงสาวท่านหนึ่ง ผู้ที่เป็นเจ้าของฟาร์มปลาหางนกยูงส่งออก ณ ปัจจุบัน ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมาอย่างมากมาย กว่าจะประสบความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้ ด้วยวัยเพียง 24 ปี เท่านั้น!!
วันนี้ MThaiNews ในช่วง ‘เกษตรสร้างรายได้‘ มีโอกาสได้พบกับคุณสุดที่รัก แผลงพาลี หรือคุณฟ้า อายุ 24 ปี เจ้าของ ‘บูฟาร์มปลาหางนกยูงนนทบุรี‘ ตั้งอยู่ภายในซอยสามัคคี 22 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี จากอดีตกุ๊กทำอาหาร ที่เริ่มต้นทำงานตั้งแต่อายุ 18 ปี ก่อนจะพลิกผันมาเพาะ ‘ปลาหางนกยูง’ คัดเกรด สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน พร้อมกับมีกลุ่มลูกฟาร์มกว่า 20 ราย สร้างกลุ่มเครือข่ายส่งออกปลาหางนกยูงสู่ต่างแดนโดยคุณฟ้า เปิดเผยกับทีมข่าว MThai ว่า เริ่มทำงานมาตั้งแต่อายุ 18 ปี เป็นกุ๊กทำอาหาร ระหว่างนั้นก็ได้ทำการเพาะกุ้งก้ามแดงไปด้วย ซึ่งช่วงนั้นกำลังเป็นที่นิยมเลี้ยงอย่างมาก จนกระทั่งมาช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงก็ตกลงไป คุณพ่อเลยให้คำแนะนำให้มาเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง ซึ่งคุณพ่อก็ทำฟาร์มปลาหางนกยูงอยู่แล้ว แต่ไม่ถนัดด้านการตลาด จึงเข้ามาช่วยเรื่องการทำการตลาดจากในโซเชียล กระทั่ง 2 ปีที่แล้ว ได้ตัดสินใจออกจากงานประจำ เพื่อมุ่งมั่นสู่การเพาะปลาหางนกยูงอย่างจริงจัง
ช่วงๆแรกที่เข้ามาทำค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่ได้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลามากเท่าไรนัก ซึ่งยอมรับว่าต้องลองผิดลองถูกเกือบ 1 ปี แต่ก็แลกมาด้วยประสบการณ์อันล้ำค่า ทั้งเรื่องการเลือกซื้อสายพันธุ์ปลาเกรด วิธีการเลี้ยง การดูแลและรักษาหากปลาป่วย รวมถึงเรื่องของอาหารปลา
สำหรับวิธีการเลี้ยง ‘ปลาหางนกยูง‘ นั้น คุณฟ้า เผยว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ใส่ใจ 2 เรื่องสำคัญคือ ‘อาหารและน้ำ’ โดยที่ฟาร์มจะให้ไรแดงเป็นอาหารหลัก ส่วนอาหารเม็ดจะเป็นอาหารเสริมให้กับปลาหางนกยูง โดยจะให้วันละ 2 ครั้ง คือช่วงเช้า และช่วงเย็น เรื่องสภาพน้ำจะทำการดูดขี้ปลาอย่างน้อย 2-3 วัน ต่อครั้ง โดยจะสูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงประมาณ 50% และเติมน้ำใหม่เข้าไป 50% โรคที่พบส่วนใหญ่จะมีโรคจุดขาว และโรคหางเปื่อย ซึ่งมักพบบ่อยในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง หรือในช่วงอากาศหนาว โดยทางฟาร์มจะใส่ยาดักไว้ก่อนซึ่งจะเป็นยาแก้อักเสบ สำหรับช่วงหน้าร้อนปลาจะสมบูรณ์มากที่สุด เลี้ยงง่าย และไม่ค่อยเป็นโรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น