อาชีพง่ายๆ ที่คนมองข้าม "รีแพ็กกิ้ง" ขนมไทย ขนมปี๊บ ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ



                   นี่คืออีกหนึ่งอาชีพช่องทางทำเงินที่ง่าย ๆ ครับ อาชีพนี้เป็นงานที่ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องมีโรงงานผลิตสินค้าเอง ตัวคนเดียวก็สามารถทำได้แล้ว ตรอกไหนซอยไหนขอให้มีร้านของชำ หรือซุปเปอร์มาเก็ต ส่งได้ทุกร้าน หอพักนักศึกษา ร้านกาแฟ สหกรณ์โรงเรียน สหกรณ์โรงพยาบาล ส่งได้หมด  เพียงแค่แพ๊คกิ้งบรรจุให้ดูดี น่ากิน ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว ภาพข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการบรรจุแพ๊คกิ้งที่ผมมองว่าดูดี มองแล้วน่าซื้อ


                     แล้วกลุ่มตลาดละ เราจะส่งที่ไหนดี ผมมองว่ากลุ่มลูกค้าแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
           กลุ่มลูกค้าระดับบน คือเป็นซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ร้านกาแฟที่ดูดีซักหน่อย หรือซุปเปอร์มาเก็ตตามหอพักนักศึกษา  กลุ่มลูกค้าประเภทนี้รูปแบบร้านจะมีการจัดวางสินค้าที่เป็นระเบียบ มีชั้นวางสินค้าที่เป็นสัดส่วน ราคาที่วางขายอยู่ในร้านประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 20 -40 บาท ถ้าเราจะเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบนเราต้องเน้นการแพ๊คกิ้งให้ดูดีเป็นพิเศษ ให้มองแล้วดูน่าซื้อ น่ากิน โดยส่วนมากถ้าเราส่งทางร้าน 16 บาท ทางร้านก็จะขายอยู่ที่ 20 

            ส่วนกลุ่มลูกค้าระดับล่าง ก็จะเป็นร้านขายของชำ หรือซุปเปอร์มาเก็ตขนาดเล็ก หรือตามสหกรณ์โรงเรียน สหกรณ์โรงพยาบาล  ราคาที่วางขายกันอยู่ก็จะประมาณ 10 - 20 บาท อันนี้การแพ๊คกิ้งไม่ต้องถึงกับเลิศหรูมาก แต่ก็ต้องให้ดูดีพอประมาณ  ราคาขายส่งก็จะอยู่ที่ห่อละ 8 บาท ทางร้านก็จะขายในราคา 10 บาท

                      เมื่อรู้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายแล้ว เราก็มาดูต้นทุน และวัสดูอปกร์ที่ต้องใช้ในการแพ๊คขนมกันครับ   เงินลงทุนขั้นต่ำควรมีซักประมาณ 10,000. บาท โดยแบ่งเป็น
      1. สำหรับซื้อขนมปี๊บขนาด 5 กิโล  ราคาประมาณปี๊บละ 280 - 450 บาท แล้วแต่ชนิดของขนม  โดยอาจจะทดลองซัก 10 ปี๊บก่อน 
      2. เครื่องซีลปากถุง ราคาตั้งแต่ 850 - 3,000. บาท แนะนำว่าควรใช้ราคาประมาณพันกว่าบาทก็พอแล้ว

     
3.ถุงใส่สำหรับแพ๊คกิ้ง และตราชื่อของคุณ ถุงใส่นั้นมีขายตามร้านขายอุปกร์ทำเค้กหรือเบเกอรี่ทั่วไป ส่วนตราหรือโลโก้นั้น ถ้าทำเองไม่เป็นก็ไปให้ร้านทำป้าย หรือร้านคอมเขาออกแบบให้ ไม่กี่ตังค์ครับ ทุนตรงนี้ก็ไม่เกิน 2,000. บาท

                      ผมขอแนะนำว่าเราควรทดลองชิมขนมที่เราหมายตาไว้ว่าจะส่งขาย โดยไปทดลองซื้อแบบที่เขาแบ่งขายดูก่อน ซื้อมาชนิดละ สิบหรือยี่สิบบาท เราชิมแล้วถูกใจรสชาติแบบไหน ก็ซื้อยกปี๊บจากแหล่งขายส่ง ซื้อเสร็จแล้วก็มาคำนวนดูว่าตกต้นทุนประมาณกิโลละกี่บาท ถ้า1 กิโลเราจะสามารถแพ๊คได้กี่ถุง  อย่าลืมบวกต้นทุนเรื่องค่าขนส่งไปด้วยนะครับ     เพราะรถต้องใช้น้ำมันในการวิ่งติดต่อส่งขนม  เรื่องเงินก็แล้วแต่เราจะตกลงกับทางร้านที่เราจะไปส่งว่าจะเก็บเป็นเงินสด หรือรอบบิล หนึ่งอาทิตย์มาเก็บเงินก็ได้   อันนี้ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ถ้าแพ๊คกิ้งดูดี ราคาไม่แพง รสชาติถูกปากลูกค้ายังไงก็ขายได้ ขึ้นชื่อว่าของกิน  ฝากเป็นเคล็ดลับนิดหนึ่งครับ ถ้าร้านไหนมีชั้นวางสินค้าเป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนมักจะขายดี ถ้าเลือกเจาะกลุ่มได้ก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่

                      ใครสนใจอยากหารายได้เสริมก็น่าสนใจนะครับ คนมีงานประจำอยู่แล้วก็สามารถทำได้        วางแผนการติดต่อส่งร้านค้า วนรอบหนึ่งอาทิตย์ก็ไปเช็คดูสักครั้ง ผูกมิตรกับร้านค้าไว้ ยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพูดคุยติดต่อ มีขนมให้เจ้าของร้านได้ลองชิมดูบ้าง ได้ใจเขาแน่นอน ก็ฝากไว้อีกหนึ่งอาชีพช่องทางทำเงินครับ

ที่มา http://number1money.blogspot.com

อาชีพง่ายๆ ที่คนมองข้าม "รีแพ็กกิ้ง" ขนมไทย ขนมปี๊บ ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ

อาชีพง่ายๆ ที่คนมองข้าม "รีแพ็กกิ้ง" ขนมไทย ขนมปี๊บ ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ



                   นี่คืออีกหนึ่งอาชีพช่องทางทำเงินที่ง่าย ๆ ครับ อาชีพนี้เป็นงานที่ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องมีโรงงานผลิตสินค้าเอง ตัวคนเดียวก็สามารถทำได้แล้ว ตรอกไหนซอยไหนขอให้มีร้านของชำ หรือซุปเปอร์มาเก็ต ส่งได้ทุกร้าน หอพักนักศึกษา ร้านกาแฟ สหกรณ์โรงเรียน สหกรณ์โรงพยาบาล ส่งได้หมด  เพียงแค่แพ๊คกิ้งบรรจุให้ดูดี น่ากิน ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว ภาพข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการบรรจุแพ๊คกิ้งที่ผมมองว่าดูดี มองแล้วน่าซื้อ


                     แล้วกลุ่มตลาดละ เราจะส่งที่ไหนดี ผมมองว่ากลุ่มลูกค้าแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
           กลุ่มลูกค้าระดับบน คือเป็นซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ร้านกาแฟที่ดูดีซักหน่อย หรือซุปเปอร์มาเก็ตตามหอพักนักศึกษา  กลุ่มลูกค้าประเภทนี้รูปแบบร้านจะมีการจัดวางสินค้าที่เป็นระเบียบ มีชั้นวางสินค้าที่เป็นสัดส่วน ราคาที่วางขายอยู่ในร้านประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 20 -40 บาท ถ้าเราจะเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบนเราต้องเน้นการแพ๊คกิ้งให้ดูดีเป็นพิเศษ ให้มองแล้วดูน่าซื้อ น่ากิน โดยส่วนมากถ้าเราส่งทางร้าน 16 บาท ทางร้านก็จะขายอยู่ที่ 20 

            ส่วนกลุ่มลูกค้าระดับล่าง ก็จะเป็นร้านขายของชำ หรือซุปเปอร์มาเก็ตขนาดเล็ก หรือตามสหกรณ์โรงเรียน สหกรณ์โรงพยาบาล  ราคาที่วางขายกันอยู่ก็จะประมาณ 10 - 20 บาท อันนี้การแพ๊คกิ้งไม่ต้องถึงกับเลิศหรูมาก แต่ก็ต้องให้ดูดีพอประมาณ  ราคาขายส่งก็จะอยู่ที่ห่อละ 8 บาท ทางร้านก็จะขายในราคา 10 บาท

                      เมื่อรู้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายแล้ว เราก็มาดูต้นทุน และวัสดูอปกร์ที่ต้องใช้ในการแพ๊คขนมกันครับ   เงินลงทุนขั้นต่ำควรมีซักประมาณ 10,000. บาท โดยแบ่งเป็น
      1. สำหรับซื้อขนมปี๊บขนาด 5 กิโล  ราคาประมาณปี๊บละ 280 - 450 บาท แล้วแต่ชนิดของขนม  โดยอาจจะทดลองซัก 10 ปี๊บก่อน 
      2. เครื่องซีลปากถุง ราคาตั้งแต่ 850 - 3,000. บาท แนะนำว่าควรใช้ราคาประมาณพันกว่าบาทก็พอแล้ว

     
3.ถุงใส่สำหรับแพ๊คกิ้ง และตราชื่อของคุณ ถุงใส่นั้นมีขายตามร้านขายอุปกร์ทำเค้กหรือเบเกอรี่ทั่วไป ส่วนตราหรือโลโก้นั้น ถ้าทำเองไม่เป็นก็ไปให้ร้านทำป้าย หรือร้านคอมเขาออกแบบให้ ไม่กี่ตังค์ครับ ทุนตรงนี้ก็ไม่เกิน 2,000. บาท

                      ผมขอแนะนำว่าเราควรทดลองชิมขนมที่เราหมายตาไว้ว่าจะส่งขาย โดยไปทดลองซื้อแบบที่เขาแบ่งขายดูก่อน ซื้อมาชนิดละ สิบหรือยี่สิบบาท เราชิมแล้วถูกใจรสชาติแบบไหน ก็ซื้อยกปี๊บจากแหล่งขายส่ง ซื้อเสร็จแล้วก็มาคำนวนดูว่าตกต้นทุนประมาณกิโลละกี่บาท ถ้า1 กิโลเราจะสามารถแพ๊คได้กี่ถุง  อย่าลืมบวกต้นทุนเรื่องค่าขนส่งไปด้วยนะครับ     เพราะรถต้องใช้น้ำมันในการวิ่งติดต่อส่งขนม  เรื่องเงินก็แล้วแต่เราจะตกลงกับทางร้านที่เราจะไปส่งว่าจะเก็บเป็นเงินสด หรือรอบบิล หนึ่งอาทิตย์มาเก็บเงินก็ได้   อันนี้ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ถ้าแพ๊คกิ้งดูดี ราคาไม่แพง รสชาติถูกปากลูกค้ายังไงก็ขายได้ ขึ้นชื่อว่าของกิน  ฝากเป็นเคล็ดลับนิดหนึ่งครับ ถ้าร้านไหนมีชั้นวางสินค้าเป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนมักจะขายดี ถ้าเลือกเจาะกลุ่มได้ก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่

                      ใครสนใจอยากหารายได้เสริมก็น่าสนใจนะครับ คนมีงานประจำอยู่แล้วก็สามารถทำได้        วางแผนการติดต่อส่งร้านค้า วนรอบหนึ่งอาทิตย์ก็ไปเช็คดูสักครั้ง ผูกมิตรกับร้านค้าไว้ ยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพูดคุยติดต่อ มีขนมให้เจ้าของร้านได้ลองชิมดูบ้าง ได้ใจเขาแน่นอน ก็ฝากไว้อีกหนึ่งอาชีพช่องทางทำเงินครับ

ที่มา http://number1money.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น