ผ้าบาติกลวดลายสวยงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ดีต่อเนื่อง


ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย
12687920_1647663138829317_5987053844426481419_n
จากการศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
ผ้าบาติก

วิธีการทำผ้าบาติก ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

คำว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (wax- writing) ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำผ้าบาติก

  1. ผ้าใยธรรมชาติ เสื้อยืดผ้า COTTON เสื้อสำเร็จรูปใยธรรมชาติ เช่น ป่าน ลินิน ไหม สปันบอนด์ เรยอน แพร ฯลฯ
  2. เทียนเขียนผ้าบาติก ภาชนะอลูมเนียมสำหรับใส่น้ำเทียน
  3. ปากกาสำหรับเขียนเทียน หรือจันติ้ง (Tjantion) เบอร์ต่างๆ เพื่อใช้เดินเส้น
  4. แปรงขนกระต่าย พู่กันขนาดต่างๆ (พู่กันกลมเบอร์ 7,9,12 พู่กันแบนเบอร์ 20 หรือเบอร์ 22)
  5. กรอบไม้ (Frame=เฟรม) เป็นโครงสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ขึงผ้าให้ตึง หมุดสำหรับติดหรือแม็กซ์เย็บกระดาษเอาไว้สำหรับกด
  6. สีสำหรับระบายผ้าบาติก เช่น สีแดง น้ำเงิน เหลือง ม่วง ฟ้า เขียว ส้ม ดำ ฯลฯ
  7. ดินสอขนาด 4B หรือ 6B ใช้สำหรับร่างลาย และกระดาษปรู๊ฟใช้สำหรับสเก็ตซ์ลาย และปากกาเมจิกสำหรับเขียนลาย
  8. กระปุกกลมมีฝาปิดสำหรับใส่สีต่างๆ และแก้วพลาสติกสีขาว กระปุกหรือถ้วยแก้วขนาดใหญ่สำหรับใส่น้ำล้างพู่กัน 2 ใบ
  9. เตาไฟฟ้าสำหรับอุ่นน้ำเทียน




ที่มา https://www.kaiaridee.com


 

ผ้าบาติกลวดลายสวยงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ดีต่อเนื่อง

ผ้าบาติกลวดลายสวยงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ดีต่อเนื่อง


ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย
12687920_1647663138829317_5987053844426481419_n
จากการศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
ผ้าบาติก

วิธีการทำผ้าบาติก ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

คำว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (wax- writing) ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำผ้าบาติก

  1. ผ้าใยธรรมชาติ เสื้อยืดผ้า COTTON เสื้อสำเร็จรูปใยธรรมชาติ เช่น ป่าน ลินิน ไหม สปันบอนด์ เรยอน แพร ฯลฯ
  2. เทียนเขียนผ้าบาติก ภาชนะอลูมเนียมสำหรับใส่น้ำเทียน
  3. ปากกาสำหรับเขียนเทียน หรือจันติ้ง (Tjantion) เบอร์ต่างๆ เพื่อใช้เดินเส้น
  4. แปรงขนกระต่าย พู่กันขนาดต่างๆ (พู่กันกลมเบอร์ 7,9,12 พู่กันแบนเบอร์ 20 หรือเบอร์ 22)
  5. กรอบไม้ (Frame=เฟรม) เป็นโครงสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ขึงผ้าให้ตึง หมุดสำหรับติดหรือแม็กซ์เย็บกระดาษเอาไว้สำหรับกด
  6. สีสำหรับระบายผ้าบาติก เช่น สีแดง น้ำเงิน เหลือง ม่วง ฟ้า เขียว ส้ม ดำ ฯลฯ
  7. ดินสอขนาด 4B หรือ 6B ใช้สำหรับร่างลาย และกระดาษปรู๊ฟใช้สำหรับสเก็ตซ์ลาย และปากกาเมจิกสำหรับเขียนลาย
  8. กระปุกกลมมีฝาปิดสำหรับใส่สีต่างๆ และแก้วพลาสติกสีขาว กระปุกหรือถ้วยแก้วขนาดใหญ่สำหรับใส่น้ำล้างพู่กัน 2 ใบ
  9. เตาไฟฟ้าสำหรับอุ่นน้ำเทียน




ที่มา https://www.kaiaridee.com


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น