พลิกวิกฤตภัยแล้งเก็บลูกหว้าส่งขายสร้างได้เลี้ยงครอบครัว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.สามง่าม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ออกตระเวนเก็บลูกหว้า ซึ่งปลูกไว้ริมถนนคันคลองชลประทาน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่เดินทางมารับถึงบ้าน หลังประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพทำนาได้ จึงต้องหาอาชีพเสริมในการที่จะนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว


 นายลำจวน อ่อนสะเดา ชาวนาพื้นที่หมู่ที่ 2 เปิดเผยว่า ปกติทำนาและทำสวนชะอมเป็นอาชีพหลัก แต่ตอนนี้น้ำไม่มี ก็ต้องหันมาทำอาชีพเสริมด้วยการเก็บลูกหว้าไปขาย โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 35 บาท ซึ่งแต่ละวันจะเก็บได้ 35-40 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ในแต่ละวัน 1,000 กว่าบาท โดยผลัดกันเก็บจาก 4 ต้น ที่อยู่ไม่ห่างกันนัก และใช้ไม้ไผ่ขึ้นไปขัดเป็นช่วงๆไว้ เพื่อที่จะสามารถขึ้นเก็บโดยง่าย ซึ่งปีหนึ่งจะเก็บได้ครั้งเดียว บางต้นหากมีลูกดกจะเก็บขายได้หลายครั้งสร้างรายได้กว่าหมื่นบาท



 ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังคงสร้างปัญหาแก่เกษตรกร โดยแม้จะมีฝนตกลงมาในช่วง 1-2 วัน ที่ผ่านมาแต่ยังมีปริมาณที่น้อย ประกอบกับพื้นที่อยู่ในสภาวะที่แห้งแล้งมายาวนาน จึงไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ยังคงต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งต่อไป



ที่มา http://oknation.nationtv.tv


 

พลิกวิกฤตภัยแล้งเก็บลูกหว้าส่งขายสร้างได้เลี้ยงครอบครัว

พลิกวิกฤตภัยแล้งเก็บลูกหว้าส่งขายสร้างได้เลี้ยงครอบครัว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.สามง่าม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ออกตระเวนเก็บลูกหว้า ซึ่งปลูกไว้ริมถนนคันคลองชลประทาน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่เดินทางมารับถึงบ้าน หลังประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพทำนาได้ จึงต้องหาอาชีพเสริมในการที่จะนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว


 นายลำจวน อ่อนสะเดา ชาวนาพื้นที่หมู่ที่ 2 เปิดเผยว่า ปกติทำนาและทำสวนชะอมเป็นอาชีพหลัก แต่ตอนนี้น้ำไม่มี ก็ต้องหันมาทำอาชีพเสริมด้วยการเก็บลูกหว้าไปขาย โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 35 บาท ซึ่งแต่ละวันจะเก็บได้ 35-40 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ในแต่ละวัน 1,000 กว่าบาท โดยผลัดกันเก็บจาก 4 ต้น ที่อยู่ไม่ห่างกันนัก และใช้ไม้ไผ่ขึ้นไปขัดเป็นช่วงๆไว้ เพื่อที่จะสามารถขึ้นเก็บโดยง่าย ซึ่งปีหนึ่งจะเก็บได้ครั้งเดียว บางต้นหากมีลูกดกจะเก็บขายได้หลายครั้งสร้างรายได้กว่าหมื่นบาท



 ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอ่างทองยังคงสร้างปัญหาแก่เกษตรกร โดยแม้จะมีฝนตกลงมาในช่วง 1-2 วัน ที่ผ่านมาแต่ยังมีปริมาณที่น้อย ประกอบกับพื้นที่อยู่ในสภาวะที่แห้งแล้งมายาวนาน จึงไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ยังคงต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งต่อไป



ที่มา http://oknation.nationtv.tv


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น