"อดีตนักกีฬาเรือพายทีมชาติหันมาทำพาย สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว"
"นายดุสิต ปั่นเกิด หรือ ช่างสิต ช่างทำพาย ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร ที่ผันตัวเอง จากอดีต นักกีฬาพายเรือทีมชาติไทย และ ช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ หันมาทำพาย ไว้สำหรับพายเรือยาว ส่งจำหน่าย ให้กับทีมแข่งเรือยาว ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศเพื่อนบ้าน สร้างรายได้ เดือนละ กว่า 1 หมื่นบาท จึงปัจจุบันยอดผลิตสูงทำไม่ทันจำหน่าย ในช่วงฤดูน้ำหลาก และ เทศกาลประเพณีแข่งขันเรือยาวโดย วิธีการทำ การนำ ไม้ที่แปรรูป เป็นแผ่น ขนาดกว้าง เกือบ 30 เซนติเมตร และ ยาวเกือบ 2 เมตร นำมาตกแต่ง ตัดเลื่อย มาเป็นรูปแบบของพาย โดยเริ่มต้นจากการคัดไม้ประดู ที่แปรรูปเป็นแผ่นแล้ว ถูกนำมาวาดตามแบบ ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร 50 เซนติเมตร ที่ได้วางกำหนดไว้ จากนั้นได้ทำการเลื่อย เศษ ไม้ออก ให้เป็นรูปร่างด้าม และใบพาย รูปใบโพธิ์ อย่างประณีต และระมัดระวัง จนได้รูปทรงที่ต้องการ แต่ยังมี น้ำหนัก และความหนา จากนั้นก็ถึงเวลา ตกแต่ง ให้มีขนาดเล็กลง ด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า หินเจียร ที่ทันสมัย เพื่อช่วยย่นระยะเวลา ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ออกมาเป็นรูปร่างของใบพายทันที
"
"ช่างสิต กล่าวว่า" สมัยก่อน ได้ช่วยพ่อ ที่มีอาชีพขุดเรือจำหน่าย พร้อมทั้งเป็นนักกีฬาพายเรือทีมชาติ ออกไปแข่งขันในต่างประเทศ จากนั้นจึงหันตัวเอง นำวิชา จากช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ มาทำพายเป็นอาชีพ ซึ่งการทำพาย หากมีความชำนาญ เป็นเรื่องที่ไม่ยาก ซึ่งในแต่ละวัน จะสามารถทำได้ 5 ใบ จำหน่ายใบพายละ 750 บาท ซึ่งจะมีรายได้ เดือน กว่า 1 หมื่นบาท ซึ่งจะทำออกจำหน่าย ให้ทีมแข่งเรือยาว ทั้งในประเทศ และ ประเทศลาว รวมถึงจีน และประเทศฮ่องกง ยิ่งในช่วงในระหว่าง เดือน กรกฎาคม ถึงเดือน ตุลาคม จะมีกลุ่มฝีพาย จะมาจ้างทำพายกันมาก เนื่องจาก เป็นช่วงฤดูกาลแข่งขันเรือยาวประเพณี จน ทำการผลิตส่งจำหน่ายไม่ทันสำหรับอาชีพการทำพายเรือ ถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ หาเลี้ยงครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงที่ว่างจากการทำการเกษตร ในพื้นที่น้ำท่วม การทำพาย จึงเปรียบเหมือนอาชีพ ตอนช่วงน้ำท่วม อีกทั้ง ยังร่วมเป็น ส่วนหนึ่ง ของการสนับสนุน ประเพณี การแข่งขันเรือยาว ซึ่งเป็นประเพณี สืบทอดกันมาของชาวพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะเริ่มฤดูการแข่งขัน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม จน ถึงเดือนตุลาคมนี้"
ที่มา http://www.nationtv.tv
"นายดุสิต ปั่นเกิด หรือ ช่างสิต ช่างทำพาย ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร ที่ผันตัวเอง จากอดีต นักกีฬาพายเรือทีมชาติไทย และ ช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ หันมาทำพาย ไว้สำหรับพายเรือยาว ส่งจำหน่าย ให้กับทีมแข่งเรือยาว ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศเพื่อนบ้าน สร้างรายได้ เดือนละ กว่า 1 หมื่นบาท จึงปัจจุบันยอดผลิตสูงทำไม่ทันจำหน่าย ในช่วงฤดูน้ำหลาก และ เทศกาลประเพณีแข่งขันเรือยาวโดย วิธีการทำ การนำ ไม้ที่แปรรูป เป็นแผ่น ขนาดกว้าง เกือบ 30 เซนติเมตร และ ยาวเกือบ 2 เมตร นำมาตกแต่ง ตัดเลื่อย มาเป็นรูปแบบของพาย โดยเริ่มต้นจากการคัดไม้ประดู ที่แปรรูปเป็นแผ่นแล้ว ถูกนำมาวาดตามแบบ ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร 50 เซนติเมตร ที่ได้วางกำหนดไว้ จากนั้นได้ทำการเลื่อย เศษ ไม้ออก ให้เป็นรูปร่างด้าม และใบพาย รูปใบโพธิ์ อย่างประณีต และระมัดระวัง จนได้รูปทรงที่ต้องการ แต่ยังมี น้ำหนัก และความหนา จากนั้นก็ถึงเวลา ตกแต่ง ให้มีขนาดเล็กลง ด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า หินเจียร ที่ทันสมัย เพื่อช่วยย่นระยะเวลา ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ออกมาเป็นรูปร่างของใบพายทันที
"
"ช่างสิต กล่าวว่า" สมัยก่อน ได้ช่วยพ่อ ที่มีอาชีพขุดเรือจำหน่าย พร้อมทั้งเป็นนักกีฬาพายเรือทีมชาติ ออกไปแข่งขันในต่างประเทศ จากนั้นจึงหันตัวเอง นำวิชา จากช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ มาทำพายเป็นอาชีพ ซึ่งการทำพาย หากมีความชำนาญ เป็นเรื่องที่ไม่ยาก ซึ่งในแต่ละวัน จะสามารถทำได้ 5 ใบ จำหน่ายใบพายละ 750 บาท ซึ่งจะมีรายได้ เดือน กว่า 1 หมื่นบาท ซึ่งจะทำออกจำหน่าย ให้ทีมแข่งเรือยาว ทั้งในประเทศ และ ประเทศลาว รวมถึงจีน และประเทศฮ่องกง ยิ่งในช่วงในระหว่าง เดือน กรกฎาคม ถึงเดือน ตุลาคม จะมีกลุ่มฝีพาย จะมาจ้างทำพายกันมาก เนื่องจาก เป็นช่วงฤดูกาลแข่งขันเรือยาวประเพณี จน ทำการผลิตส่งจำหน่ายไม่ทันสำหรับอาชีพการทำพายเรือ ถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ หาเลี้ยงครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงที่ว่างจากการทำการเกษตร ในพื้นที่น้ำท่วม การทำพาย จึงเปรียบเหมือนอาชีพ ตอนช่วงน้ำท่วม อีกทั้ง ยังร่วมเป็น ส่วนหนึ่ง ของการสนับสนุน ประเพณี การแข่งขันเรือยาว ซึ่งเป็นประเพณี สืบทอดกันมาของชาวพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะเริ่มฤดูการแข่งขัน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม จน ถึงเดือนตุลาคมนี้"
ที่มา http://www.nationtv.tv
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น