หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้


ที่หมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านดอยผักกูดอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนหมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านยามชายแดน ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและประโยชน์ในด้านความมั่นคงของประเทศชาติ” ที่กองทัพภาคที่ 3 โดยกองพลพัฒนาที่ 3 ได้สนองแนวพระราชดำริเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 
ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านเมืองแพม หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้มีสภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาของฝั่งลำห้วย เป็นต้นน้ำของแม่น้ำลาง ซึ่งจะไหลผ่าน บ้านแอโก๋ และอำเภอปาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,423 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด ประมาณ 1,865 เมตร ราษฎรในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลักเช่นการปลูกพืชผัก 
ทำนาข้าวแบบขั้นบันไดและเลี้ยงสัตว์ โดยมีอาชีพเสริมด้วยการเพาะเลี้ยงหนอนไม้ไผ่แบบอิงอาศัยธรรมชาติ คืออนุรักษ์ดูแลไม้ไผ่ในหมู่บ้านเพื่อให้หนอนผีเสื้อมาวางไข่รอเจริญเติบโตแล้วจับมาจำหน่าย หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง เป็นแมลงที่กินได้ มีเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่พื้นที่ เช่น หนอนกินเยื่อไผ่ หนอนผีเสื้อเจาะไผ่  ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก แน้ แมะ หรือแด้ หรือด้วงไม้ไผ่ หรือรถด่วน  อีก้อเรียกฮาโบลัว  กะเหรี่ยงเรียกคลีเคล้ะ พม่าเรียกวาโป้ว และจีนฮ่อเรียกจูซุง มีถิ่นที่อยู่อาศัยพบกระจายอยู่ในป่า
หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่
เมือปี 2537 นักวิจัยของสำนักงานวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ทำการวิจัยหนอนไม้ไผ่ และพบว่าสามารถเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้ในปี พ.ศ.2539 โดยชนิดไม้ไผ่ที่สามารถใช้เลี้ยงมี 11 ชนิด ได้แก่ ไผ่ซางนวล ไผ่ซางดอย ไผ่ซางดำ หรือ ไผ่สีทอง ไผ่หก ไผ่ตง ไผ่โปก ไผ่บง หรือไผ่บงป่า ไผ่บงบ้านหรือไผ่บงคาย ไผ่ไร่ลอ ไผ่หนาม และไผ่ลวก แต่ที่หมู่บ้านยามชาย แดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านดอยผักกูดอาศัยธรรมชาติในการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก 
คือชาวบ้านจะช่วยกันดูแลกอไผ่ในพื้นที่ไม่ตัดทำลาย หรือหากจะตัดมาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ทำล้าน เพื่อการใช้สอยก็จะตัดเอาต้นที่มีหนอนไม้ไผ่เจริญเติบโตแล้ว คือ ตัดครั้งเดียวได้ประโยชน์สองทาง ปัจจุบันการบริโภคหนอนเยื่อไผ่เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตจังหวัดภาคเหนือ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อร่างกายมีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้
จึงจัดได้ว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประชาชนในภูมิภาคนี้และมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้อีกด้วยหนอนไม้ไผ่มีวงจรชีวิตเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ หนอน ดักแด้ และผีเสื้อกลางคืน เมื่อพ่อพันธ์ุและแม่พันธุ์ของผีเสื้อกลางคืนผสมพันธ์ุกัน แม่ผีเสื้อจะวางไข่บนผิวหน่อไม้ซึ่งการผสมพันธ์ุและวางไข่จะเกิดในเวลากลางคืนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยไข่จะถูกวางเรียงเป็นแพ มีสีขาวขุ่น หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนสีน้ำตาลใส ตัวอ่อนจะเข้าไปตามผิวของหน่อไผ่และเจาะผิวไผ่ตรงบริเวณเนื้อไม้ที่มีความอ่อน แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ภายในลำไผ่นั้น จากนั้นจะเจาะรูออกขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้
สำหรับให้ตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อกลางคืนออกมาจากลำไผ่ได้ ในระหว่างที่หนอนอยู่ภายในลำไผ่เป็นระยะเวลา 10 เดือน หนอนจะกินเยื่อไม้ไผ่อ่อนเป็นอาหาร โดยหนอนเหล่านั้นจะเจาะรูที่ข้อไผ่ทะลุขึ้นทีละข้อ ข้อละรูเพื่อขึ้นไปกินเยื่อไผ่และเนื้อไผ่อ่อนโดยจะกินจากปล้องล่าง ๆ ขึ้นไปสู่ปล่องบนประมาณเดือนตุลาคมหนอนเหล่านั้นจะลงมาอยู่รวมกันที่โคนไผ่เหนือปล้องที่เจาะรูไว้สำหรับเป็นทางออก 
จะหยุดกินอาหารและหยุดการเจริญเติบโตเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ ช่วงระหว่างนี้จึงเหมาะที่จะตัดไผ่นั้นมาเพื่อเอาหนอน ขณะที่ลำไผ่ที่เหลือก็โตพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ต้องการต่อไปได้เป็นอย่างดี.
ที่มา  https://www.kasetintree.com

หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้

หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้


ที่หมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านดอยผักกูดอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนหมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านยามชายแดน ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและประโยชน์ในด้านความมั่นคงของประเทศชาติ” ที่กองทัพภาคที่ 3 โดยกองพลพัฒนาที่ 3 ได้สนองแนวพระราชดำริเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 
ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านเมืองแพม หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้มีสภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาของฝั่งลำห้วย เป็นต้นน้ำของแม่น้ำลาง ซึ่งจะไหลผ่าน บ้านแอโก๋ และอำเภอปาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,423 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด ประมาณ 1,865 เมตร ราษฎรในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลักเช่นการปลูกพืชผัก 
ทำนาข้าวแบบขั้นบันไดและเลี้ยงสัตว์ โดยมีอาชีพเสริมด้วยการเพาะเลี้ยงหนอนไม้ไผ่แบบอิงอาศัยธรรมชาติ คืออนุรักษ์ดูแลไม้ไผ่ในหมู่บ้านเพื่อให้หนอนผีเสื้อมาวางไข่รอเจริญเติบโตแล้วจับมาจำหน่าย หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง เป็นแมลงที่กินได้ มีเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่พื้นที่ เช่น หนอนกินเยื่อไผ่ หนอนผีเสื้อเจาะไผ่  ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก แน้ แมะ หรือแด้ หรือด้วงไม้ไผ่ หรือรถด่วน  อีก้อเรียกฮาโบลัว  กะเหรี่ยงเรียกคลีเคล้ะ พม่าเรียกวาโป้ว และจีนฮ่อเรียกจูซุง มีถิ่นที่อยู่อาศัยพบกระจายอยู่ในป่า
หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่
เมือปี 2537 นักวิจัยของสำนักงานวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ทำการวิจัยหนอนไม้ไผ่ และพบว่าสามารถเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้ในปี พ.ศ.2539 โดยชนิดไม้ไผ่ที่สามารถใช้เลี้ยงมี 11 ชนิด ได้แก่ ไผ่ซางนวล ไผ่ซางดอย ไผ่ซางดำ หรือ ไผ่สีทอง ไผ่หก ไผ่ตง ไผ่โปก ไผ่บง หรือไผ่บงป่า ไผ่บงบ้านหรือไผ่บงคาย ไผ่ไร่ลอ ไผ่หนาม และไผ่ลวก แต่ที่หมู่บ้านยามชาย แดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านดอยผักกูดอาศัยธรรมชาติในการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก 
คือชาวบ้านจะช่วยกันดูแลกอไผ่ในพื้นที่ไม่ตัดทำลาย หรือหากจะตัดมาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ทำล้าน เพื่อการใช้สอยก็จะตัดเอาต้นที่มีหนอนไม้ไผ่เจริญเติบโตแล้ว คือ ตัดครั้งเดียวได้ประโยชน์สองทาง ปัจจุบันการบริโภคหนอนเยื่อไผ่เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตจังหวัดภาคเหนือ ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อร่างกายมีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้
จึงจัดได้ว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประชาชนในภูมิภาคนี้และมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้อีกด้วยหนอนไม้ไผ่มีวงจรชีวิตเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ หนอน ดักแด้ และผีเสื้อกลางคืน เมื่อพ่อพันธ์ุและแม่พันธุ์ของผีเสื้อกลางคืนผสมพันธ์ุกัน แม่ผีเสื้อจะวางไข่บนผิวหน่อไม้ซึ่งการผสมพันธ์ุและวางไข่จะเกิดในเวลากลางคืนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยไข่จะถูกวางเรียงเป็นแพ มีสีขาวขุ่น หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนสีน้ำตาลใส ตัวอ่อนจะเข้าไปตามผิวของหน่อไผ่และเจาะผิวไผ่ตรงบริเวณเนื้อไม้ที่มีความอ่อน แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ภายในลำไผ่นั้น จากนั้นจะเจาะรูออกขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนเยื่อไผ่ สร้างรายได้
สำหรับให้ตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อกลางคืนออกมาจากลำไผ่ได้ ในระหว่างที่หนอนอยู่ภายในลำไผ่เป็นระยะเวลา 10 เดือน หนอนจะกินเยื่อไม้ไผ่อ่อนเป็นอาหาร โดยหนอนเหล่านั้นจะเจาะรูที่ข้อไผ่ทะลุขึ้นทีละข้อ ข้อละรูเพื่อขึ้นไปกินเยื่อไผ่และเนื้อไผ่อ่อนโดยจะกินจากปล้องล่าง ๆ ขึ้นไปสู่ปล่องบนประมาณเดือนตุลาคมหนอนเหล่านั้นจะลงมาอยู่รวมกันที่โคนไผ่เหนือปล้องที่เจาะรูไว้สำหรับเป็นทางออก 
จะหยุดกินอาหารและหยุดการเจริญเติบโตเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ ช่วงระหว่างนี้จึงเหมาะที่จะตัดไผ่นั้นมาเพื่อเอาหนอน ขณะที่ลำไผ่ที่เหลือก็โตพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ต้องการต่อไปได้เป็นอย่างดี.
ที่มา  https://www.kasetintree.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น