แครอท สร้างรายได้



แครอท มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นซึ่งแตกต่างกันไปเช่น ผักกาดหัวเหลือง ผักชีหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus Carota Var.sativa อยู่ในวงศ์ Apiaceae(Umbelliferae) พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ New Kurada, Imperater , Nantes , หงส์แดง    เจริญได้ดีในเขตหนาวอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-21 °C    แครอท เจริญได้ดีในดินละเอียดมีอินทรีย์วัตถุสูงและร่วนซุยระบายน้ำได้ดี  pH ของดินประมาณ 6.5-7.5 แครอทนั้นเป็นพืชที่ต้องการแสงมากโดยเฉลี่ยประมาณ 9-14 ชั่วโมง/วัน
แครอท มีถิ่นกำเนิดอยู่อยู่แถบเอเซียกลางจนถึงเอเซียตะวันออก เป็นพืชล้มลุกอายุ 1-2 ปี สูงประมาณ 1-1.50 เมตร  แครอทเป็นพืชสองฤดูโดยฤดูแรกเจริญทางใบและราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอกและเมล็ด

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา แครอท นิยมรับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป ใส่แกงจืด ใช้ทำส้มตำแบบมะละกอ คั้นสดรับประทาน เป็นน้ำเพื่อสุขภาพ และช่วยเพิ่มสีสันในจานอาหาร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แครอท
การเตรียมแปลง
1. ขุดดินให้มีความร่วนซุยและลึก ประมาณ 1 ฟุต
2. ไถพรวนผสมดินกับป๋ยหมักชีวภาพประมาณ 2 กก.ผสมแกลบดำ 1 ถุง อาหารสัตว์ต่อ 1 ตร.ม.
3. ดินไม่ควรมี กรวด หิน เศษไม้ จะทำให้หัวแครอท คด งอ
การปลูกและการดูแลรักษา
1. แปลงกว้าง 1 เมตร ปลูกได้ 3 แถว ใช้ไม้ขีดเป็นร่องเล็ก ๆ ตามแนวยาวของแปลง ควรผสมทราย แล้วนำมาหยอด
กลบด้วยแกลบดำ หรือ ดินละเอียด คลุมฟางบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม
2. พอต้นแครอทโตประมาณ 5-7 ซม. ให้ถอนต้นที่ถี่ออก ให้ห่างกัน 2-3 ซม. ต่อต้น
3. พอโตประมาณ 15 ซม. ถอดต้นออก ห่างกัน 7 ซม. ต่อต้น
4. เติมปุ๋ยหมักชีวภาพระหว่างแถว 300 กรัมต่อ 1 ตร.ม. ทุก ๅ 20 วัน
5. แครอทจะมีปัญหาทางหัวถูกทำลายจาก เสี้ยนดินและเน่าเสีย ควรรดน้ำหมักสะเดาผสมน้ำสกัดชีวภาพ
อยู่สม่ำเสมอ ทุกๆ 3-5 วัน
6. ถ้าแครอทเฝือใบ คือใบงาม แต่หัวมีขนาดเล็กให้หักก้านใบ โดยสวมรองรองเท้าเหยียบยอดและ ก้านใบของเครอทให้ล้มลง เพื่อลดการลำเลียงอาหารไปเลี้ยงใบระยะที่แครอทกำลังจะลงหัว

ที่มา http://www.makerichman.com

แครอท สร้างรายได้

แครอท สร้างรายได้



แครอท มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นซึ่งแตกต่างกันไปเช่น ผักกาดหัวเหลือง ผักชีหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus Carota Var.sativa อยู่ในวงศ์ Apiaceae(Umbelliferae) พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ New Kurada, Imperater , Nantes , หงส์แดง    เจริญได้ดีในเขตหนาวอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-21 °C    แครอท เจริญได้ดีในดินละเอียดมีอินทรีย์วัตถุสูงและร่วนซุยระบายน้ำได้ดี  pH ของดินประมาณ 6.5-7.5 แครอทนั้นเป็นพืชที่ต้องการแสงมากโดยเฉลี่ยประมาณ 9-14 ชั่วโมง/วัน
แครอท มีถิ่นกำเนิดอยู่อยู่แถบเอเซียกลางจนถึงเอเซียตะวันออก เป็นพืชล้มลุกอายุ 1-2 ปี สูงประมาณ 1-1.50 เมตร  แครอทเป็นพืชสองฤดูโดยฤดูแรกเจริญทางใบและราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอกและเมล็ด

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา แครอท นิยมรับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป ใส่แกงจืด ใช้ทำส้มตำแบบมะละกอ คั้นสดรับประทาน เป็นน้ำเพื่อสุขภาพ และช่วยเพิ่มสีสันในจานอาหาร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แครอท
การเตรียมแปลง
1. ขุดดินให้มีความร่วนซุยและลึก ประมาณ 1 ฟุต
2. ไถพรวนผสมดินกับป๋ยหมักชีวภาพประมาณ 2 กก.ผสมแกลบดำ 1 ถุง อาหารสัตว์ต่อ 1 ตร.ม.
3. ดินไม่ควรมี กรวด หิน เศษไม้ จะทำให้หัวแครอท คด งอ
การปลูกและการดูแลรักษา
1. แปลงกว้าง 1 เมตร ปลูกได้ 3 แถว ใช้ไม้ขีดเป็นร่องเล็ก ๆ ตามแนวยาวของแปลง ควรผสมทราย แล้วนำมาหยอด
กลบด้วยแกลบดำ หรือ ดินละเอียด คลุมฟางบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม
2. พอต้นแครอทโตประมาณ 5-7 ซม. ให้ถอนต้นที่ถี่ออก ให้ห่างกัน 2-3 ซม. ต่อต้น
3. พอโตประมาณ 15 ซม. ถอดต้นออก ห่างกัน 7 ซม. ต่อต้น
4. เติมปุ๋ยหมักชีวภาพระหว่างแถว 300 กรัมต่อ 1 ตร.ม. ทุก ๅ 20 วัน
5. แครอทจะมีปัญหาทางหัวถูกทำลายจาก เสี้ยนดินและเน่าเสีย ควรรดน้ำหมักสะเดาผสมน้ำสกัดชีวภาพ
อยู่สม่ำเสมอ ทุกๆ 3-5 วัน
6. ถ้าแครอทเฝือใบ คือใบงาม แต่หัวมีขนาดเล็กให้หักก้านใบ โดยสวมรองรองเท้าเหยียบยอดและ ก้านใบของเครอทให้ล้มลง เพื่อลดการลำเลียงอาหารไปเลี้ยงใบระยะที่แครอทกำลังจะลงหัว

ที่มา http://www.makerichman.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น